วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปโทรทัศน์ครู

สรุปรายการโทรทัศนครูเรื่องการเรียนรู้นอกห้องเรียน โดยการส่องนกในโรงเรียน

โรงเรียนอนุบาลเซอเรย์ สแควร์ เป็ยโรงเรียนใจกลางเมืองกรุงลอนดอน

ในคณะที่โรงเรียนอนุบาลวูเลนวิค อยู่ในฮารต์ฟอร์ดเชียร์

               กิจกรรมการส่องนกในโรงเรียนสามารถช่วนส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ได้
ทักษะในการสังเกต เด็กปฐมวัยใช้กล้องทางไกลส่องนกสังเกตโดยใช้ตา

ทักษะการจำแนก จำแนกประเภทของนก มีหลายชนิด หลายสี หลายขนาดแตกต่างกัน

ทักษะการวัด เด็กวัดขนาดตัวนกด้วยสาย โดยวัดได้ว่ามีทั้งตัวเล็กตัวใหญ่แตกต่างกัน

ทักษะการสื่อความหมาย เด็กตอบครูได้ว่านกมีสีอะไรบ้าง แตกต่างกันตรงไหนและตอบคำถามปริศนาของครูได้ก่อนที่จะเริมทำกิจกรรมสองนกบอกจุดที่อยู่ของนกได้ผ่านการใช้กล้องส่องทางไกลเด็กทุกคนมีกระดานและกระดาษสำหรับจดบันทึก ใช้ในการขีดนับจำนวนนกแต่ละชนิดว่ามีกี่ตัว

ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล เด็กตอบครูได้ว่านกอยู่ตรงไหนโดยการส่องกล้องในการส่องนกเด็กได้สัมผัสกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายนอกห้องเรียนที่มีอยู่ให้เด็กๆได้เรียนรู้ผ่ากิจกรรมและรู้จักแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ได้สังเกตสิงที่เป็นธรรชาติอยู่รอบตัวอย่าใกล้ชิดเช่น ต้นไม้ ดอกไม้ป่า ทงหญ้า เด็กได้ร่วมกิจกรรมคือให้อาหารนกรอบๆโรงเรียน เด็กๆได้เห็นนกรอบๆบริเวณโรงเรียนเพื่อนกจะได้รู้ว่าสามารถมากินอาหารตรงนี้ได้ จะช่วยทำให้มีนกหลากหาลายสายพันธ์เข้ามารอบๆบริเวณโรงเรียนและเด็กก็จะได้เห็นนกมากมาย ได้รู้จักขั้นตอนการทำอาหารให้นกจะได้เตรียมไว้ก่อนออกไปส่องนกก่อนการทำกิจกรรมครูได้สอนให้เด็กๆรู้จักนกแต่ละชนิดเพื่อที่เด็กจะได้นับถูกว่านกแต่ละชนิดมีกี่ตัว สุดท้ายนี้ครูให้เด็กๆสรุปร่วมกันกับเพื่อนๆว่าเด็กๆเห็นนกอะไรบ้างเป็นการให้ความสำคัญกับเด็ก


วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปวิจัย


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



 วิจัยเรื่อง  การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

  โดย คุณเสกสรร  มาตวังแสง

ความมุ่งหมายของการวิจัย

       1.  เพื่อศึกษาระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยจำแนกรายด้านดังนี้การ  วิเคราะห์ การใช้เหตุผล การสังเคราะห์ การประเมินค่า
       2.  เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

ความสําคัญของการวิจัย

เป็นแนวทางสําหรับครูในการนํากิจกรรมวิทยาศาสตร์มาใช้สําหรับเด็กปฐมวัยเพื่อพัฒนาการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยเกิดการคิดได้เต็มตามศักยภาพ  ตามจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ

ขอบเขตของการวิจัยประชากร

ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือเด็กปฐมวัย ชาย – หญิงอายุระหว่าง 5 – 6 ปีซึ่งกําลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนเทศบาลวัดเนินสุทธาวาส (สุทธิพงษ์ประชานุกูล) อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรีสังกัดสํานักการศึกษาเทศบาลเมืองชลบุรี  จํานวน 50 คน
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี  กําลังศึกษาอยูในระดับอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนเทศบาลวัดเนินสุทธาวาส (สุทธิพงษ์ประชานุกูล) อ.เมืองชลบุรีจ.ชลบุรีสังกัดสํานักการศึกษาเทศบาลเมืองชลบุรี

สรุปผลการวิจัย
จากผลการทดลอง พบว่า เด็กปฐมวัยมีการคิดวิจารณญาณทั้งในภาพรวมและรายด้านสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้แสดงให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยส่งเสริมการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยให้พัฒนาอยู่ในระดับที่ดีขึ้นทั้งนี้สามารถอภิปรายได้ดังนี้
 การที่เด็กปฐมวัยมีการคิดวิจารณญาณสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เพราะรูปแบบการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง เด็กได้สํารวจวัสดุอุปกรณ์จําแนก บอกรายละเอียด ความเหมือน ความแตกต่างของวัสดุอุปกรณ์ตามลักษณะและคุณสมบัติ การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์จะเน้นการปฏิบัติทดลองรูปแบบกิจกรรมเนื้อหาสอดคล้องกับวัยและวุฒิภาวะในการเรียนรู้ของเด็กเป็นการจัดประสบการณ์ตรงที่เปิดโอกาสให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุสิ่งของ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้เด็กมีโอกาสได้ฟังสังเกต คิดแก้ปัญหาใช้เหตุผลและฝึกปฏิบัติทําให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องที่เรียน       ในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งเด็กสามารถเรียนรู้ได้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการเคลื่อนไหวสํารวจเล่น สังเกต สืบค้น ทดลองและคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ในขณะที่เด็กทําการทดลองจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และคิดหาเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงระหว่างการทดลองที่เกิดขึ้น ซึ่งได้จากการสังเกตและประสบการณ์เดิมของเด็กเอง แล้วเด็กร่วมกันสรุปผลการทดลองที่เกิดขึ้น เด็กช่วยกันคิดและหาข้อสรุปที่ได้จากการสังเกตผลการทดลองอย่างมีเหตุมีผลตามความเข้าใจของตน ทําให้เกิดการพัฒนาทางสติปัญญาหรือความคิด โดยครูจะใช้คําถามเชื่อมโยงจากกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิดรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการทํากิจกรรม ให้เกิดการวิเคราะห์การใชเหตุผล การสังเคราะห์และการประเมินค่าตัวกิจกรรมนั้นจะเป็นสิ่งที่เอื้ออํานวยให้เด็กสังเกต รับรู้ทําให้เด็กมีโอกาสฝึกคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กได้กระทําลงไป การฝึกให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาการคิดแก้ไขปัญหาต่างๆ เผชิญกับสถานการณ์ที่เป็นปัญหาและสามารถเลือกตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถพัฒนาให้เด็กคิดระดับสูงได้และในการคิดจะต้องให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงข้อสังเกตที่ได้จากการวิจัย จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า
1. กิจกรรมวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง เด็กจะเกิดสนใจและตื่นเต้นในขณะที่ทําการทดลองได้เห็นถึงขั้นตอนในการทดลอง เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และทําให้เด็กเกิดความสงสัยในระหว่างการทดลอง ซึ่งครูจะใช้คําถามกระตุ้นเพื่อให้เด็กได้คิดหาคําตอบและสรุปผลการทดลองตามความเข้าใจของเด็กเอง

2.  การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เด็กจะได้หยิบ จับ สัมผัสสังเกต วัสดุอุปกรณ์ต่างๆอย่างอิสระ เพื่อวิเคราะห์ลักษณะ ความเหมือน ความแตกต่าง ของวัสดุอุปกรณ์ที่จะนํามาใช้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์

นิยาม ศัพท์เฉพาะ
การคิดวิจารณญาณ การวิเคราะห์  การใช้เหตุผล  การสังเคราะห์  การประเมินค่า
ตัวแปรต้น  การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
ตัวแปรตาม  การคิดวิจารณญาณ


บทความ


บทความ


                                                             สรุป   สอนให้รู้จักเสียง


การที่คนเราได้ยินเสียง เพราะมีคลื่นเสียงผ่านอากาศมากระทบกับหูของเรา เสียงที่เราได้ยินมาจากแหล่งเกิดเสียงต่างๆ ได้แก่ เสียงของคน สัตว์ เสียงวัตถุกระทบกัน แต่ละเสียงมีความหมายที่สื่อสารถึงกัน หรือนำเสียงเหล่านั้นมาใช้ประ โยชน์ เช่น เสียงคนหรือสัตว์ จะบอกความรู้สึกอารมณ์ขณะเปล่งเสียง เราจะได้ยินเสียงของคนหัวเราะ แสดงอารมณ์เบิกบานใจ เสียงร้องไห้ บอกถึงความเสียใจ เศร้าใจ วิตกกังวล การพูดเสียงดังหรือตะโกน หวีดร้องอาจจะเป็นเสียงที่บอกถึงความตกใจ ไม่พอใจ มีอารมณ์โกรธ แต่เสียงตะโกนก้องกระหึ่มของการเชียร์กีฬา จะบอกถึงความสนุกสนาน สัตว์ก็มีเสียงที่เปล่งหรือร้อง สื่อความรู้สึกตามสัญชาติหรือธรรมชาติของมันเช่นกัน เช่นเสียงร้องเพราะหิว ตกใจ หวาดกลัว หาคู่ ฯลฯ เสียงธรรมชาติรอบตัว ได้แก่ เสียงลมพัด เสียงน้ำไหล เสียงคลื่นในทะเล เสียงที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือกระทำ เช่นเสียงดนตรี เสียงตอกไม้ เสียงตีกลอง ฯลฯ เสียงเหล่านี้เด็กจะได้รู้ได้ยินผ่านในชีวิตประจำวันหรือสิ่ง แวดล้อมรอบตัว แต่การสอนให้เด็กรู้ เข้าใจ และใช้เสียงอย่างเหมาะสม จะส่งเสริมให้เด็กมีชีวิตอย่างมีความสุข การสอนเรื่องเสียงจะเป็นการเรียนรู้ได้ทั้งความเป็นวิทยาศาสตร์ คือธรรมชาติของเสียง ประเภทของเสียงที่อยู่รอบตัวเรา หรือ การฝึกใช้เสียงในการสื่อสารในสังคม เช่นมารยาทของการเปล่งเสียง พูดจากัน การใช้เสียงเพื่อความบันเทิง เช่นร้องเพลง เล่นดนตรี ฯลฯ เรื่องเสียงจึงเป็นสาระการเรียนรู้ที่ช่วยพัฒนาชีวิตเด็กให้เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพได้เป็น
เสียงธรรมชาติที่ทำให้เด็กๆตกใจ เกิดความหวาดกลัว คือเสียง ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ครูควรเข้าใจสาเหตุของการเกิดเช่นนั้นว่า เสียงฟ้าผ่าเป็นเสียงที่เราได้ยินการสั่นสะเทือนของอากาศที่อยู่สูงขึ้นไปในก้อนเมฆ ซึ่งเกิดจากการขยายตัวอย่างรวดเร็ว
เครื่องบินเจ็ทเป็นเครื่องบินที่เคลื่อนที่รวดเร็วมาก บางครั้งจะเกิดการชนกับอากาศที่อยู่ข้างหน้า ซึ่งกำลังสะเทือนอยู่แล้วจากเสียงของเครื่องบิน เสียงนั้นเดินทางเร็วอยู่แล้ว แต่เครื่องบินเจ็ทบินเร็วกว่า คนที่อยู่ข้างล่างจึงได้ยินเสียงที่ชนกันเหมือนเสียงระเบิดของอากาศดังลั่นไปหมด